นโยบายต่างประเทศ ตูนิเซียเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ มีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศอาหรับและมุสลิมสายกลาง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และฝรั่งเศส และประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับในเวทีการเมืองระหว่างประเทศพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเวทีของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ซึ่งมีสมาชิก 112 ประเทศ กลุ่มสันนิบาตอาหรับ และกลุ่ม Arab Maghreb Union แม้ว่าตูนิเซียมีความพยายามที่จะเปลี่ยนกลุ่มสันนิบาตอาหรับให้เป็นองค์การเศรษฐกิจประจำภูมิภาค โมร็อกโกและแอลจีเรียจะขัดขวางเสมอ ปัจจุบันรัฐบาลตูนิเซียมุ่งเน้นการปฏิรูปและพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6. 1 ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2550 ถึง 2554 ด้วยเหตุที่ตูนิเซียตั้งอยู่ในจุดสำคัญทางภูมิศาสตร์ และประสบผลสำเร็จทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ตูนิเซียมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและเป็นสะพานเชื่อมกับประชาคมยุโรป นอกจากนั้น ตูนิเซียเป็นประเทศแรกในแอฟริกาที่ได้ลงนามร่วมกับ EU ในความตกลง Euro-Mediterranean Association Agreement เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 ซึ่งความตกลงดังกล่าวมีผลให้ความสัมพันธ์กับ EU ในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน สังคม วัฒนธรรมและการกงสุล มีความใกล้ชิดขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างยุโรปและตูนิเซียต่อไปในอนาคตอันใกล้ ตูนิเซียเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้ง Organisation of African Unity ในปี 2506 โดยได้เป็นประธานขององค์การระหว่างปี 2537-2538 ก่อนที่องค์การจะแปรสภาพเป็น African Union เมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้ง World Solidarity Fund ในเดือนสิงหาคม 2552 เพื่อช่วยเหลือคนยากไร้ทั่วโลก ช่วยพัฒนาด้านสวัสดิการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในประเทศที่ยากไร้ที่สุด โดยสหประชาชาติเห็นชอบให้จัดกองทุนนี้ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เศรษฐกิจการค้า ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 39.